ขนาดกระดาษ
ในวงการงานพิมพ์มีการใช้กระดาษกันอย่างหลากหลาย ทำให้ต้องมีการกำหนดมาตรฐานของ ขนาดกระดาษ ซึ่งนอกจากการกำหนดมาตรฐานด้านอื่น ๆ แล้วนั้น ก็เพื่อความสะดวกในการใช้งานได้อย่างถูกต้องและนำไปใช้ในการสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมาตรฐานที่ว่านั้นคือ มาตรฐานของขนาดกระดาษ ISO 216 ซึ่งมีด้วยกันสามรหัสชุด เรามาดูความหมายและขนาดของกระดาษแต่ละรหัสกัน
มาตรฐานของขนาดกระดาษ ISO 216 คืออะไร
การกำหนดมาตรฐานของขนาดกระดาษ ISO 216 ขึ้นมาโดยมีพื้นฐานแนวคิดจากมาตรฐานระบบ GERMAN DIN 476 ซึ่งมีจุดเด่นของมาตรฐานนี้คือ เมื่อเรานำกระดาษที่มีขนาดตามกำหนดไว้มาพับครึ่ง ขนาดของกระดาษที่พับแล้วก็ยังคงมีสัดส่วน (คืออัตราส่วนของด้านสูงกับด้านกว้าง) เดียวกับขนาดก่อนพับ หากพับครึ่งจะได้ขนาดใหม่ที่มีสัดส่วนเดียวกันหมด
สิ่งที่ได้คือ เมื่อนำกระดาษไปตัดแบ่งใช้งานตามมาตรฐานนี้จะไม่เกิดการเสียเศษหากมีงานที่ต้องการย่อส่วน เพื่อให้ได้ผลตามที่หลักการกำหนดที่ได้มีการคำนวณและพบว่าอัตราส่วนความสูงหารด้วยความกว้างจะมีค่าเท่ากับ สแควร์รูทของสอง 1,4142 และพบว่าระยะความกว้าง ความสูงของขนาดพับครึ่งจะลดลงเป็น 70.7% จากเดิม
ขนาดกระดาษมาตรฐาน รหัสชุด A
มาตรฐานขนาดกระดาษชุด A คือมาตรฐานในระบบ ISO เป็นระบบเมตริก โดยจะกำหนดรหัส A0 ให้มีขนาดพื้นที่เท่ากับ 1 ตารางเมตร ซึ่งจากการคำนวณ จะได้ขนาดของ A0 เท่ากับ 841 x 1189 มิลลิเมตร เมื่อเราทำการแบ่งครึ่ง จากขนาด A0 จะได้ขนาดใหม่ที่ได้ตั้งเป็นรหัส A1 แล้วหากทำการแบ่งไปเรื่อย ๆ จะได้รหัส A2, A3, A4 โดยมาตรฐานชุดนี้เป็นมาตรฐานที่สร้างความคุ้นเคย และได้นำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย
โดยเฉพาะขนาดกระดาษ A4 ที่มีขนาด 210 x 297 มิลลิเมตรนั้น เป็นขนาดของกระดาษถ่ายเอกสารทั่วไปที่นิยมใช้กันมาก รวมถึงกระดาษหัวจดหมาย นิตยสาร และหนังสือต่าง ๆ เป็นต้น โดยถ้านำกระดาษขนาด A4 ที่มีน้ำหนักเท่ากับ 80 กรัมต่อตารางเมตร เมื่อนำกระดาษมาชั่งน้ำหนักจะอยู่ที่ 5 กรัม ทำให้ผู้ใช้งานสะดวกในการหาน้ำหนักของกองกระดาษโดยใช้วิธีนับจำนวนแผ่น
ขนาดกระดาษชุด A
ขนาด | มิลลิเมตร | นิ้ว |
2A | 1189 x 1682 | 46.81 x 66.22 |
A0 | 841 x 1189 | 33.11 x 46.81 |
A1 | 594 x 841 | 23.39 x 33.11 |
A2 | 420 x 594 | 16.54 x 23.39 |
A3 | 297 x 420 | 11.69 x 16.54 |
A4 | 210 x 297 | 8.27 x 11.69 |
A5 | 148 x 210 | 5.83 x 8.27 |
A6 | 105 x 148 | 4.13 x 5.83 |
A7 | 74 x 105 | 2.91 x 4.13 |
A8 | 52 x 74 | 2.05 x 2.91 |
A9 | 37 x 52 | 1.46 x 2.05 |
A10 | 26 x 37 | 1.02 x 1.46 |
ขนาดกระดาษมาตรฐาน รหัสชุด B
มาตรฐานขนาดกระดาษชุด B มีวิธีการกำหนดขนาดในรหัสเริ่มโดยให้รหัส B1 มีขนาดอยู่ระหว่าง A0 กับ A1 และมีระยะด้านสูงเท่ากับ 1 เมตร ด้านกว้างเท่ากับ 0.707 เมตร ซึ่งได้มาจากข้อกำหนดความสูงหารความกว้าง เท่ากับสแควร์รูทของสอง ดังนั้นขนาดของรหัสชุด B จะมีด้านหนึ่งด้านใดเป็นครึ่งหนึ่ง หรือหนึ่งในสี่ หนึ่งในแปดของ 1 เมตรต่อเนื่องกันไปสำหรับงานมาตรฐานรหัสชุด คืองานโปสเตอร์ หนังสือ ใช้ B5 หรือ ซองเอกสาร หนังสือพาสปอร์ต เป็นต้น
ขนาดกระดาษชุด B
ขนาด | มิลลิเมตร | นิ้ว |
B0 | 1000 x 1414 | 39.37 x 55.67 |
B1 | 707 x 1000 | 27.83 x 39.37 |
B2 | 500 x 707 | 19.68 x 27.83 |
B3 | 353 x 500 | 13.90 x 19.68 |
B4 | 250 x 353 | 9.84 x 13.90 |
B5 | 176 x 250 | 6.93 x 9.84 |
B6 | 125 x 176 | 4.92 x 6.93 |
B7 | 88 x 125 | 3.46 x 4.92 |
B8 | 62 x 88 | 2.44 x 3.46 |
B9 | 44 x 62 | 1.73 x 2.44 |
B10 | 31 x 44 | 1.22 x 1.73 |
ขนาดกระดาษมาตรฐาน รหัสชุด C
มาตรฐานรหัสชุด C มีไว้เพื่อใช้กำหนดขนาดของซองใส่เอกสารที่มีเลขเดียวกัน โดยรหัสของชุด C จะใหญ่กว่าซอง A แต่มีขนาดเล็กกว่าซอง B ดังนั้นกระดาษจดหมาย A4 จะสามารถใส่ลงในซองขนาด C4 และซองขนาด C4 ก็จะใส่ลงในซอง B4 ได้พอดี
ขนาดกระดาษชุด C
ขนาด | มิลลิเมตร | นิ้ว |
C0 | 917 x 1297 | 36.10 x 51.06 |
C1 | 648 x 917 | 25.51 x 36.10 |
C2 | 458 x 648 | 18.03 x 25.51 |
C3 | 324 x 458 | 12.76 x 18.03 |
C4 | 229 x 324 | 9.02 x 12.76 |
C5 | 162 x 229 | 6.28 x 9.02 |
C6 | 114 x 162 | 4.49 x 6.38 |
C7 | 81 x 114 | 3.19 x 4.49 |
C8 | 57 x 81 | 2.24 x 3.19 |
C9 | 40 x 57 | 1.57 x 2.24 |
C10 | 28 x 40 | 1.10 x 1.57 |
ขนาดของหนังสือ
การกำหนดขนาดของหนังสือ ต้องคำนึงถึงกระดาษขนาดแผ่นใหญ่ที่ใช้พิมพ์เสมอว่าสามารถเข้ากันได้อย่างลงตัวหรือไม่ เพื่อเป็นการประหยัดกระดาษ หากต้องมาเจียนทิ้งโดยไม่จำเป็น
ขนาด A4 (8.1/4 ป 11.3/4 นิ้ว) เป็นขนาดที่มาตรฐานที่สุด ตามที่องค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศกำหนดใช้กระดาษ 24 x 35 นิ้ว สามารถพิมพ์และพับได้ลงตัว ที่เรียกกันว่า ขนาด 8 หน้ายกพิเศษ
ขนาด 8 หน้ายก (7.1/2 x 10.1/4 นิ้ว) เป็นขนาดที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการพิมพ์หนังสือเรียน เพราะจะใช้กระดาษขนาด 31 x 43 นิ้ว มาตัดลงพิมพ์และพับได้ลงตัวพอดี
ขนาด 16 หน้ายก ( 5 x 7 นิ้ว หรือขนาด A5 หรือ A4 พับครึ่ง) ที่เรานิยมใช้พิมพ์คู่มือ หรือเรียกอีกอย่างว่า ขนาดพ๊อกเกตบุ๊ต
ขนาดของวารสาร นิตยสาร มีขนาดที่ไม่แน่นอน 8.5 x 11.5 นิ้ว ซึ่งมีขนาดเล็กใกล้เคียงกับขนาด A4
กระดาษขนาด 24 x 35 นิ้ว
การใช้กระดาษขนาด 24 x 35 นิ้วหรือขนาด A4 หรือ 8 หน้ายก 8.1/4 x 11.3/4 นิ้ว ขนาดนิตยสาร วารสาร รายงานประจำปีขนาด A5 หรือ 16 หน้ายก 5.3/4 x 8.1/4 นิ้ว ขนาดหนังสือวิชาการขนาด A6 หรือ 32 หน้ายก 5.3/4 x 5.3/4 นิ้ว
หน้ายก คืออะไร
คำว่า หน้ายก คือ จะต้องมีตัวเลขนำหน้าเสมอ เพื่อเป็นการแสงให้เห็นว่า หนังสือเล่มนั้นมีขนาดเท่าใด เช่น 8 หน้ายก, 16 หน้ายก, 32 หน้ายก, 64 หน้ายก เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดกระดาษและการพับ หรือจะอธิบายใหม่ได้ว่าการพิมพ์หนังสือเล่ม จะพิมพ์ลงกระดาษแผ่นใหญ่ในแม่พิมพ์ หรือเพลท ทีละกรอบ ซึ่งกระดาษแต่ละแผ่นจัดหน้าจำนวนที่หน้า ก็นับจำนวนหน้าใน 1 เพลท เป็น 1 ยก ซึ่งขนาดกระดาษแผ่นใหญ่มีขนาดโดยทั่วไปคือ 24 x 35 นิ้ว, 25 x 36 นิ้ว, 28 x 40 นิ้ว, 31 x 43 นิ้ว และ 35 x 43 นิ้ว เป็นต้น
ในการพิมพ์สิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์มักใช้ขนาด 31 x 43 นิ้ว, 35 x 43 นิ้ว และ 28 x 40 นิ้ว ส่วนการพิมพ์สิ่งพิมพ์ทั่วไป หรือหนังสือ มักใช้ขนาด 31 x 43 นิ้ว, 25 x 36 นิ้ว และ 24 x 35 นิ้ว สำหรับ 31 x 43 นิ้ว เป็นขนาดที่จัดสำหรับมาตรฐานรหัสชุด B ใหญ่กว่าขนาด B1 เล็กน้อย ส่วนขนาด 25 x 36 นิ้ว และ 24 x 35 นิ้ว เป็นขนาดที่จัดสำหรับมาตรฐานรหัสชุด A มีขนาดใหญ่กว่า A1 เล็กน้อย
ขนาดพิมพ์
เนื่องจากขนาดกระดาษ มีความแตกต่างกัน อีกทั้งเครื่องพิมพ์ในระบบออฟเซ็ทแบบป้อนแผ่นก็มีขนาดแตกต่างกัน เช่นกัน มีผลทำให้ต้องตัดเจียนกระดาษที่สั่งซื้อมาให้เหมาะกับเครื่องพิมพ์ก่อนนำมาพิมพ์ โดยขนาดของเครื่องพิมพ์จะเรียกตามขนาดกระดาษที่ใหญ่ที่สุดที่สามาถนำเข้าเครื่องได้ นอกจากนี้ยังมีเครื่องพิมพ์ขนาดเล็ก คือขนาดตัดห้า ขนาดตัดแปด ขนาดตัดสิบเอ็ด หรือ ขนาดที่เล็กกว่า
ขนาดตัดหนึ่ง พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด 35 x 49 นิ้ว
ขนาดตัดสอง พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุดขนาด 25 x 36 นิ้ว
ขนาดตัดสองพิเศษ พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุดขนาด 28 x 41 นิ้ว
ขนาดตัดสาม พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุดขนาด 21 x 31 นิ้ว
ขนาดตัดสี่ พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุดขนาด 18 x 25.5 นิ้ว
ขนาดตัดสี่พิเศษ พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุดขนาด 21x 28 นิ้ว
สำหรับเครื่องพิมพ์ในระบบออฟเซ็ทแบบป้อนม้วน จะต้องทำการวัดขนาดด้วยข้อจำกัดของเส้นรอบวงของโมลพิมพ์ ขนาดด้านเข้าเครื่องตายตัว ด้านขวางเครื่องสามารถปรับความกว้างได้ เครื่องพิมพ์ที่มีอยู่จะมีขนาดด้านเข้าเครื่องมี 21 นิ้ว กับ 24 นิ้ว
สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง รับสั่งทำหนังสือสวดมนต์ รับพิมพ์หนังสือสวดมนต์ รับพิมพ์หนังสือธรรมะ รับพิมพ์แผ่นพับสวดมนต์ หนังสือธรรมะพิมพ์แจก เป็นธรรมทาน หนังสือตักบาตร สังฆทานหนังสือ หนังสือสำหรับทำบุญ หนังสือพิมพ์แจก หนังสือที่ระลึก
รับออกแบบและพิมพ์งาน รับออกแบบ จัดอาร์ต ทำรูปเล่ม และพิมพ์งาน รับงานพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิด ออกแบบและจัดทำตั้งแต่ต้นจนจบพร้อมจัดส่ง หนังสือ แผ่นพับ โบว์ชัวร์ ใบปลิวโฆษณา โปสเตอร์ ปฏิทินแขวน ปฏิทินตั้งโต๊ะ แคตตาล็อก หนังสือที่ระลึกในงานพิธีต่างๆ หนังสือสวดมนต์ หนังสือธรรมะทุกประเภท
งานจ้างพิมพ์ ติดต่อ คุณไพยนต์ กาสี โทร. 02-427-0989 โทร. 089-619-5891 E-mail : piyon321@hotmail.com lc2u.net