บทจุลชัยปกรณ์

บทสวดพรรณนาชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่มีเหนือหมู่มารทั้งปวง นิยมสวดกันอย่างแพร่หลายแถบลุ่มแม่น้ำโขง มีอานุภาพขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย พร้อมภัยอันตรายทั้งปวงให้หมดสิ้นไป ให้บังเกิดความสวัสดีมีชัยรุ่งเรืองทุกประการ

(ดูในโทรศัพท์ ควรวางโทรศัพท์เป็นแนวนอน จะดูได้ง่ายขึ้น)

นะโม เม พุทธะเตชัสสา ระตะนะตะยะ ธัมมิกา เตชะ ปะสิทธิ ปะสีเทวา
นารายะปะระเมสุรา สิทธิพ๎รัห๎มา จะ อินทา จะ จะตุโลกา คัมภี รักขะกา
สะมุททา ภูตุง คังคา จะ สะพ๎รัห๎มะ ชัยยะ ปะสิทธิ ภะวันตุ เต.
ชัยยะ ชัยยะ ธระณิ ธระณี อุทะธิ อุทะธี นะทิ นะที
ชัยยะ ชัยยะ คะคนละตนละนิสัย นิรัยสัยเสนนะ เมรุราชชะพลนระชี
ชัยยะ ชัยยะ คัมภีระโสมภี นาเคนทะนาคี ปีสาจ จะ ภูตะ กาลี
ชัยยะ ชัยยะ ทุนนิมิตตา โรคี
ชัยยะ ชัยยะ สิงคีสุทาทานะมุขะชา
ชัยยะ ชัยยะ วะรุณณะมุขะสาตรา
ชัยยะ ชัยยะ จัมปาทินาคะกุละคัณถก
ชัยยะ ชัยยะ คัชชะคน นะตุรง สุกะระภุชง สีหะ พ๎ยัคฆะ ทีปา
ชัยยะ ชัยยะ วะรุณณะมุขะยาตา ชิตะชิตะ เสนนารีปุนะสุทธิ นระดี
ชัยยะ ชัยยะ สุขา สุขา ชีวี
ชัยยะ ชัยยะ ธระณี ตะเล สะทา สุชัยยา
ชัยยะ ชัยยะ ธระณี สานติน สะทา
ชัยยะ ชัยยะ มังกะราช รัญญา ภะวัคเค
ชัยยะ ชัยยะ วะรุณณะยักเข
ชัยยะ ชัยยะ รักขะเส สุระภุชะเตชา
ชัยยะ ชัยยะ พ๎รัห๎มเมน ทะคะณา
ชัยยะ ชัยยะ ราชาธิราช สาชชัย
ชัยยะ ชัยยะ ปะฐะวิง สัพพัง
ชัยยะ ชัยยะ อะระหันตา ปัจเจกะพุทธะสาวัง
ชัยยะ ชัยยะ มะเหสุโร หะโร หะริน เทวา
ชัยยะ ชัยยะ พ๎รัห๎มา สุรักโข.
ชัยยะ ชัยยะ นาโค วิรุฬหะโก วิรูปักโข จันทิมา ระวิ
อินโท จะ เวนะเตยโย จะ กุเวโร วะรุโณปิ จะ
อัคคิ วาโย จะ ปาชุณโห กุมาโร ธะตะรัฏฐะโก
อัฏฐาระสะ มะหาเทวา สิทธิตาปะสะอาทะโย
อิสิโน สาวะกา สัพพา ชัยยะ ราโม ภะวันตุ เต
ชัยยะ ธัมโม จะ สังโฆ จะ ทะสะปาโล จะ ชัยยะกัง
เอเตนะ ชัยยะเตเชนะ ชัยยะ โสตถี ภะวันตุ เต
เอเตนะ พุทธะเตเชนะ โหตุ เต ชัยยะมังคะลัง.

ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ ปาปิมะโต ปะราชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิมัณเฑ ปะโมทิตา ชัยยะ ตะทา พ๎รัห๎มะคะณา มะเหสิโน.
ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ ปาปิมะโต ปะราชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิมัณเฑ ปะโมทิตา ชัยยะ ตะทา อินทะคะณา มะเหสิโน.
ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ ปาปิมะโต ปะราชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิมัณเฑ ปะโมทิตา ชัยยะ ตะทา เทวะคะณา มะเหสิโน.
ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ ปาปิมะโต ปะราชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิมัณเฑ ปะโมทิตา ชัยยะ ตะทา สุปัณณะคะณา มะเหสิโน.
ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ ปาปิมะโต ปะราชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิมัณเฑ ปะโมทิตา ชัยยะ ตะทา นาคะคะณา มะเหสิโน.
ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ ปาปิมะโต ปะราชะโย
อุคโฆ สะยัม โพธิมัณเฑ ปะโมทิตา ชัยยะ ตะทา สะพ๎รัห๎มะคะณา มะเหสิโน.

ชะยันโต โพธิยา มูเล สัก๎ยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง ต๎วัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง
สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พ๎รัห๎มะจาริสุ
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัต๎วานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ.
เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสาสะเน
อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ
สุณันตุ โภนโต เย เทวา อัส๎มิง ฐาเน อะธิคะตา
ฑีฆายุกา สะทา โหนตุ สุขิตา โหนตุ สัพพะทา
รักขันตุ สัพพะสัตตานัง รักขันตุ ชินะสาสะนัง
ยา กาจิ ปัตถะนา เตสัง สัพเพ ปูเรนตุ มะโนระถา
ยุตตะกาเล ปะวัสสันตุ วัสสัง วัสสา วะราหะกา
โรคา จุปัททะวา เตสัง นิวาเรนตุ จะ สัพพะทา
กายาสุขัง จิตตะสุขัง อะระหันตุ ยะถาระหัง.

ใจความสำคัญ : เป็นบทสวดพรรณนาชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่ทรงมีเหนือต่อพญามารและเสนามารที่กรีฑาทัพเข้าผจญเพื่อขัดขวางการตรัสรู้ของพระองค์ รวมถึงชัยชนะที่สามารถกำจัดกิเลสอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไปจากใจจนได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งถือเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่เหนืออำนาจเทพทุกระดับ เป็นชัยชนะที่ยักษ์ ภูตผีปีศาจ อาวุธ ไฟ และสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ไม่อาจทำอันตรายได้ เป็นที่ชื่นชมของหมู่พรหม จอมเทวดา หมู่เทพ และบรรดาครุฑ นาคทั้งหลาย

อานุภาพ : ขจัดและป้องกันภัยพิบัติ สิ่งอัปมงคล และอันตรายทั้งหลายให้หมดสิ้นไป สวดในยามบ้านเมืองขับขันให้กลับคืนสู่ภาวะปกติสุข

ประวัติ : เป็นบทสวดที่ใช้สวดในงานมงคลในแถบ ๒ ฝั่งแม่น้ำโขงของภาคอีสานและประเทศลาว เรียกอีกชื่อว่า “มงคลลาว” แต่งขึ้นโดย พระมหาปาสันตเถระ พระเถระแห่งอาณาจักรกัมพูชาโบราณผู้อัญเชิญพระบางและพระไตรปิฎกมายังแผ่นดินลาว ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐

ที่มา : ไม่ปรากฏ

ประยุกต์ใช้ : บทสวดนี้ เป็นบทสวดที่แต่งขึ้นโดยการใช้คำพื้นถิ่นกับภาษาบาลีผสมผสานกัน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สำหรับผู้ที่เคร่งในหลักภาษาบาลีเห็นแล้วอาจจะให้เคืองใจอยู่บ้าง แต่หากเปิดใจให้กว้างแล้วก็จะเข้าใจว่า ผู้แต่งต้องการนำเสนอองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาผ่านวัฒนธรรมภาษาของตนเพื่อสื่อสารกับคนในพื้นที่ให้เข้าใจและเข้าถึงหลักคำสอนได้ง่าย และลึกซึ้งนั่นเอง


รวบรวมเรียบเรียงโดย
ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัทธ์
น.ธ.เอก, ป.ธ.๗, พธ.บ. (ภาษาไทย)
บรรณาธิการแห่งสำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์